สรุปข้อมูล : จังหวัดร้อยเอ็ด
(จาก : ประชุมพงศาวดารภาคที่ 4 ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2458 (คัดลอก)
และ หนังสือปกิณกคดีประวัติศาสตร์ไทย เล่ม 2 กรมศิลปากร พ.ศ. 2554)


พุทธศักราช

บันทึกเหตุการณ์

บันทึกเหตุการณ์

โบราณ เรียกว่า เมืองสาเกตนครแห่งอาณาจักรกุลุนทะ ต่อมาอาณาจักรกุลุนทะ ถึงคราวเสื่อม เมืองสาเกตร้างไป บริเวณรอบบึงสระมีต้นกุ่มขึ้นทั่วไป จึงเรียกบริเวณนั้นว่า “บ้านกุ่ม” ตำนานอุรังคธาตุ
2255
(จ.ศ.1037)
เมืองร้อยเอ็ด ปรากฏชื่อเมืองตามพงศาวดารในสมัยอยุธยา
- เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร เจ้าผู้ครองจำปาศักดินัคบุรีศรี (เดิมชื่อ นครกาละจำบากนาคบุรีศรี) โปรดให้ “จารแก้ว” ปกครอง “บ้านทุ่ง” ขึ้นต่อนครจำปาศักดิ์ จนถึง พ.ศ. 2268
สมัยอยุธยา
สมเด็จพระบรมราชาที่ 3
พ.ศ.2301 - 2310
2268
(จ.ศ.1087)
ท้าวมืด บุตรจารแก้ว สืบต่อ (จนถึง พ.ศ. 2306)
- เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร ยกฐานะบ้านทงขึ้นเป็น “เมืองทุ่ง” ตั้งให้ท้าวมืด เป็นเจ้าเมือง
สมัยอยุธยา
สมเด็จพระบรมราชาที่ 3
พ.ศ.2301 - 2310
2306
(จ.ศ.1125)
ท้าวทน น้องท้าวมืด ปกครองแทน 4 ปี (จนถึง พ.ศ. 2310)
- ท้าวเชียง และท้าวสูน บุตรท้าวมืด บาดหมางกับท้าวทน จึงไปขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ขอกองทัพมาปราบท้าวทน
- ท้าวทน หนีไปอยู่ ณ บ้านกุดจอก
- ท้าวเชียง เป็นเจ้าเมืองทง (ท้าวสูน เป็นอุปฮาด) ขาดจากการปกครองของนครจำปาศักดิมาขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา
สมัยอยุธยา
สมเด็จพระบรมราชาที่ 3
พ.ศ.2301 - 2310
2315
(จ.ศ.1134)
พระยากรมท่า พระยาพรหม เห็นว่า “เมืองทุ่ง” มีชัยภูมิไม่เหมาะที่จะขยายเป็นเมืองใหญ่ (ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเซ) จึงหารือท้าวเซียง และท้าวสูน
- ย้ายเมืองทุ่ง ไปตั้งใหม่ที่ดงเท้าสาร (ที่ตั้งเมืองเก่าของตำบลภูมิ)
- สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ตั้ง “ดงเท้าสาร” เป็นเมือง ชื่อว่า “เมืองสุวรรณภูมิ”
สมัยธนบุรี
พระเจ้าตากสิน
พ.ศ. 2310 - 2325
2318
(จ.ศ.1137)
ท้าวทน (เจ้าเมืองทุ่งคนเก่า) ขอตั้ง “บ้านกุ่ม” ซึ่งเป็นที่ตั้ง เมืองร้อยเอ็ดเก่าขึ้นเป็นเมือง
- สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ยก “บ้านกุ่ม” ขึ้นเป็น “เมืองร้อยเอ็ด” ตามนามเมืองเดิม ขึ้นต่อกรุงธนบุรี ตั้ง “ท้าวทน” เป็น “พระขัติยวงศา” เจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนแรก (ครองเมืองร้อยเอ็ด 8 ปี จนถึง พ.ศ. 2326 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ : พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
จุฬาโลกมหาราช
สมัยธนบุรี
พระเจ้าตากสิน
พ.ศ. 2310 - 2325
2408
(จ.ศ.1227)
พระขัติยวงศา (จันทร์) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด ขอตั้ง “บ้านลาดกุดยางใหญ่” เป็นเมือง
- พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านลาด
กุดยางใหญ่ เป็น “เมืองมหาสารคาม” ขึ้นกับเมืองร้อยเอ็ด ให้ท้าว มหาไชย (กวด) บุตรอุปฮาด (สิงห์) เป็น “พระเจริญราชเดช” เจ้าเมืองมหาสารคาม
สมัยรัตนโกสินทร์
พระจอมเกล้าฯ
พ.ศ. 2394 - 2411
2433
(ร.ศ. 109)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้แบ่งหน้าที่ข้าหลวงเป็น 4 กอง
- เมืองร้อยเอ็ด อยู่ในบังคับของข้าหลวงเมืองอุบลราชธานี เรียกว่า
“หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ”
สมัยรัตนโกสินทร์
พระจุลจอมเกล้า
พ.ศ. 2411 - 2453
2434
(ร.ศ. 110)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ทรงพระราชปรารภว่า...
หัวเมืองในพระราชอาณาเขตที่ได้แบ่งปันไว้โดยกำหนดแต่ก่อนนั้น ยังหาสมควรแก่กาลสมัยไม่...) โปรดเกล้าฯ ให้จัดการปกครองใหม่ เป็น 4 กอง
- เมืองร้อยเอ็ดอยู่ในบังคับของข้าหลวงเมืองลาวกาว (พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงใหญ่) ตั้งรักษาอยู่ ณ เมืองนคร
จำปาศักดิ
- พระขัติยวงษา (เภา) ผู้ว่าราชการเมืองร้อยเอ็ด ถึงแก่กรรม
สมัยรัตนโกสินทร์
พระจอมเกล้าฯ
พ.ศ. 2411 - 2453
2435
(ร.ศ. 111)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑล ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย
- เมืองร้อยเอ็ด ขึ้นกับมณฑลลาวกาว ตั้งที่บัญชาการมณฑลที่เมืองอุบลราชธานี (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น มณฑลอีสาน)
สมัยรัตนโกสินทร์
พระจอมเกล้าฯ
พ.ศ. 2411 - 2453
2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลร้อยเอ็ดและมณฑลอุบล
- มณฑลร้อยเอ็ด มี 3 เมือง คือเมืองร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์
สมัยรัตนโกสินทร์
พระมงกุฎเกล้า
พ.ศ. 2453 - 2468
2465 ให้รวบรวมมณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบล มณฑลอุดรขึ้นเป็นภาคอีสานตั้งที่บัญชาการภาคที่มณฑลอุดร สมัยรัตนโกสินทร์
พระมงกุฎเกล้า
พ.ศ. 2453 - 2468
2468 ให้ยุบเลิกภาคอีสานแล้วเปลี่ยนเป็น มณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบล มณฑลอุดร ตามเดิม โดยมณฑลร้อยเอ็ดมีพระยาแก้วโกรพ (ทองสุข ผลพันธ์ทิน) เป็นสมุหเทศาภิบาล สมัยรัตนโกสินทร์
พระมงกุฎเกล้า
พ.ศ. 2453 - 2468
2469 ให้ยุบมณฑลร้อยเอ็ด มณทลอุบล มณฑลอุดร เป็นจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอุดร ให้ขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา
- จังหวัดร้อยเอ็ด มีมหาอำมาตย์เอก พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด
สมัยรัตนโกสินทร์
พระปกเกล้า
พ.ศ. 2468 - 2484
ทรงสละราชสมบัติ
2 มีนาคม 2477
2475 เปลี่ยนการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย สมัยรัตนโกสินทร์
พระปกเกล้า
พ.ศ. 2468 - 2484
ทรงสละราชสมบัติ
2 มีนาคม 2477
2476 รัฐบาลออกพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2476
- จัดระเบียบบริราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ
- จังหวัดร้อยเอ็ด มี 9 อำเภอ คือ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี อำเภอเสลภูมิ อำเภอโพนทอง อำเภออาจสามารถ อำเภอพนมไพร อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอจตุรพักตรพิมาน
- มหาอำมาตย์โท พระชาติตระการ (ม.ร.ว.จิตร คเณจร) ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด
สมัยรัตนโกสินทร์
พระปกเกล้า
พ.ศ. 2468 - 2484
ทรงสละราชสมบัติ
2 มีนาคม 2477